Wednesday, October 24, 2018

บทความเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(รูปนี้ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา)

 
ภาพ  3.25 8  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
             การศึกษาที่ผ่านมา  คลื่นผิวน้ำและคลื่นเสียงเป็นคลื่นกลที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลาง  ยังมีคลื่นอีกชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง  คือ  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (electromagnetic  wave)

             คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทิศของสนามทั้งสองตั้งฉากกันและตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่  ดังภาพ  3.25

             -  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นชนิดใด

             จากการศึกษายังพบว่า  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงความถี่ต่างๆ  มีลักษณะเฉพาะตัว  จึงมีชื่อเรียกต่างกัน  เมื่อเรียงลำดับจากความถี่ต่ำไปความถี่สูงจะได้ดังนี้  คลื่นวิทยุ  ไมโครเวฟ  รังสีอินฟราเรด  แสงที่ตามองเห็ฯ  รังสีอัลตราไวโอเลต  รังสีเอกซ์  และรังสีแกมมา  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกช่วงที่มีความถี่ที่ต่อเนื่องกัน  รวมเรียกว่า  สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic  spectrum)
หน่วยของความถี่
        ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์  (Hz)  นอกจากนี้ยังมีหน่วย กิโลเฮิรตซ์  (kHz)  เมกะเฮิรตซ์  (MHz)  และจิกะเฮิรตซ์  (GHz)  โดยมีวคามสัมพันธ์กันดังนี้
               1 kHz    =  1000  Hz      =   103  Hz
               1 MHz   =  1000  kHz   =  106  Hz
               1 GHz   =  1000  MHz  =   109 Hz

ภาพ 3.26  สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการใช้ประโยชน์
             ในธรรมชาติมีแหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากมาย  เช่น  ดวงอาทิตย์  ดาวฤกษ์อื่นๆ  และแร่ธาตุบางชนิด  มนุษย์ยังใช้ความรู้ความสามารถประดิษฐ์เครื่องกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้อีกมาก  ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง  อย่างไรก็ตาม  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีทั้งประโยชน์และโทษ  จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง

             คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ประโยชน์มากในชีวิจประจำวันคือ  คลื่นวิทยุ   (radio  wave)  ซึ่งมีความถี่ในช่วง   104  ถึง   109  เฮิรตซ์   เป็นคลื่นที่ใช้ในการส่งข่าวสารและสาระบันเทิง  ทำการส่งได้โดยเปลี่ยนเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า  แล้วผสมกับคลื่นวิทยุซึ่งทำหน้าที่เป็นคลื่นพาหะคลื่นที่ผสมแล้วจะถูกขยายให้มีกำลังสูงขึ้น  แล้วส่งไปยังสายอากาศเพื่อกระจายคลื่นไปยังเครื่องรับวิทยุ

ภาพ  3.27  การส่งและรับคลื่นวิทยุ
             การผสมสัญญาณเสียงกับคลื่นวิทยุมี  2  ระบบคือ  เอเอ็ม  (AM :  Amplitude  Modulation)  และเอฟเอ็ม  (FM:  Frequency  Modulation)  การผสมคลื่นระบบ  AM  แอมพลิจูดของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนตามคลื่นเสียง  ส่วนความถี่ของคลื่นพาหะไม่เปลี่ยน  โดยส่งกระจายเสียงด้วยความถี่  530-1,600  กิโลเฮิรตซ์  ส่วนการผสมคลื่นระบบ  FM  แอมพลิจูดของคลื่นพาหะไม่เปลี่ยนแปลง  แต่ความถี่ของคลื่นพาหะเปลี่ยนแปลงตามคลื่นเสียง  ส่งกระจายเสียงด้วยความถี่  88 - 108  เมกะเฮิรตซ์  ดังภาพ  3.28

ภาพ 3.28  การผสมสัญญาณ
             นอกจากนี้ยังอาจส่งกระจายเสียงโดยใช้คลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงกว่าเล็กน้อย  คือ  ประมาณ  2 -30 เมกะเฮิรตซ์  เรียกว่า  คลื่นสั้น  หรือ ชอร์ทเวฟ  มักใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ

             -  สถานีวิทยุกรีนเวฟส่งกระจายคลื่นด้วยความถี่  106.5  เมกะเฮิรตซ์  จะมีความยาวคลื่นเท่าใด

ภาพ  3.29  การสะท้อนของคลื่นวิทยุที่บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์
ตาราง  3.2  การใช้งานคลื่นวิทยุและไมโครเวฟ
ช่วงความถี่การใช้งาน
30 Hz - 300 kHz
300 kHz - 3 MHz
3 - 30  MHz
30 - 300  MHz
300 MHz - 3GHz
มากกว่า 3 GHZ
สื่อสารทางทะเล
ส่งคลื่นวิทยุระบบเอเอ็ม
ส่งคลื่นสั้นระหว่างประเทศ
ส่งคลื่นวิทยุระบบเอฟเอ็ม
ส่งคลื่นโทรทัศน์และโทรทัศน์เคลื่อนที่
สื่อสารผ่านดาวเทียม
กิจกรรม  3.3  สืบค้นข้อมูลเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
             สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดและการกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  รวมไปถึงการใช้ประโยชน์  และผลของการใช้  ทั้งคุณและโทษ  แล้วนำเสนอข้อมูลต่อชั้นเรียน

             คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่ำถึงปานกลางสามารถสะท้อนที่บรรยากาศชัน  ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere)  ซึ่งอยู่สูงจากผิวโลกประมาณ  100  กิโลเมตร  ทำให้สามารถใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อสื่อสารกับสถานที่ที่อยู่ไกลได้  แต่สำหรับคลื่นวิทยุในระบบเอฟเอ็มซึ่งมีความถี่สูงกว่า  คลื่นจะทะลุผ่านชั้นไอโอโนสเฟียร์ไปได้  จึงใช้ในการติดต่อกับยายอวกาศที่เดินทางไปไกลจากโลกมากๆ  ดังนั้นการรับคลื่นวิทยุในระบบเอฟเอ็มบนพื้นโลก  จึงได้รับเฉพาะคลื่นที่แผ่กระจายจากสายอากาศของเครื่องส่ง  ตรงมายังเครื่องรับวิทยุของเราจึงรับสัญญาณได้ไม่ไกลมาก

             คลื่นเป็นพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติและที่มนุษย์ผลิตขึ้นได้มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน  และการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติและการใช้ประโยชน์ของคลื่นจะช่วยให้มนุษย์และสิ่งแวดล้อมดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนและสมดุลทำให้นำมาใช้งานได้อย่างปลอดภัยต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม

   ธรรมชาติของ “แสง” แสดงความประพฤติเป็นทั้ง “คลื่น” และ “อนุภาค” เมื่อเรากล่าวถึงแสงในคุณสมบัติความเป็นคลื่น เราเรียกว่า “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” (Electromagnetic waves) ซึ่งประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าทำมุมตั้งฉาก ดังที่แสดงในภาพที่ 1 แสงเคลื่อนที่ไปในอวกาศด้วยความเร็ว 300,000,000 เมตร/วินาที เมื่อเรากล่าวถึงแสงในคุณสมบัติของอนุภาค เราเรียกว่า “โฟตอน” (Photon) เป็นอนุภาคที่ไม่มีมวล 

ภาพที่ 1 คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
          แสงที่ตามองเห็น (Visible light) เป็นส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงคลื่น 400 – 700 นาโนเมตร (1 เมตร = 109 นาโนเมตร หรือ 100 ล้านนาโนเมตร) หากนำแท่งแก้วปริซึมมาหักเหแสงอาทิตย์ เราจะเห็นว่าแสงสีขาวถูกหักเหออกเป็นสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง คล้ายกับสีของรุ้งกินน้ำ เรียกว่า “สเปกตรัม” (Spectrum) แสงแต่ละสีมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน สีม่วงมีความยาวคลื่นน้อยที่สุด สีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด นอกจากแสงที่ตามองเห็นแล้วยังมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ดังที่แสดงในภาพที่ 2 ได้แก่
           • รังสีแกมมา (Gamma ray) ความยาวคลื่นน้อยกว่า 0.01 nm
           • รังสีเอ็กซ์ (X-ray) มีความยาวคลื่น 0.01 - 1 nm
           • รังสีอุลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet radiation) มีความยาวคลื่น 1 - 400 nm
           • แสงที่ตามองเห็น (Visible light) มีความยาวคลื่น 400 – 700 nm
           • รังสีอินฟราเรด (Infrared radiation) มีความยาวคลื่น 700 nm – 1 mm
           • คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) มีความยาวคลื่น 1 mm – 10 cm
           • คลื่นวิทยุ (Radio wave) ความยาวคลื่นมากกว่า 10 cm
                                                 คลิก เพื่อดูภาพเคลื่อนไหว
หมายเหตุ
          • ตำราดาราศาสตร์ส่วนใหญ่กำหนดให้ คลื่นไมโครเวฟเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นวิทยุ
          • บางแห่งใช้หน่วยความยาวคลื่นเป็น อังสตรอม ()     โดยที่ 1 เมตร = 1010
     หรือ 10,000,000,000  หรือ 1 nm = 10  

ภาพที่ 2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทต่างๆ
สเปกตรัม
          นักดาราศาสตร์ทำการศึกษาวัตถุท้องฟ้า โดยการศึกษาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่วัตถุแผ่รังสีออกมา สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้เราทราบถึงคุณสมบัติทางกายภาพของดวงดาว อันได้แก่ อุณหภูมิ และพลังงาน นอกจากนั้นยังบอกถึง ธาตุ องค์ประกอบทางเคมี และทิศทางการเคลื่อนที่ของเทห์วัตถุด้วย

ภาพที่ 3 สเปกตรัมของแสงอาทิตย์
          สเปกตรัมของแสงอาทิตย์ในภาพที่ 3 แสดงให้เห็นถึงระดับความเข้มของพลังงานในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ จะเห็นได้ว่า ดวงอาทิตย์มีความเข้มของพลังงานมากที่สุดที่ความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร เส้นสีเข้มบนแถบสเปกตรัม หรือ รอยหยักบนเส้นกราฟแสดงให้เห็นว่า มีธาตุไฮโดรเจนอยู่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ดาวแต่ละดวงมีสเปกตรัมไม่เหมือนกัน ฉะนั้นสเปกตรัมจึงมีคุณสมบัติเปรียบได้กับเส้นลายมือของดาว
ความสัมพันธ์ระหว่าง ความยาวคลื่น (Wavelength) และ ความถี่ (Frequency)
          วัตถุทุกชนิดที่มีอุณภูมิสูงกว่า 0 เคลวิน (-273°C) มีพลังงานภายในตัว และมีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความยาวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแปรผกผันกับอุณหภูมิ มิใช่มีเพียงสิ่งที่มีอุณหภูมิสูง ดังเช่น ดวงอาทิตย์ และไส้หลอดไฟฟ้า จึงมีการแผ่รังสี หากแต่สิ่งที่มีอุณหภูมิต่ำดังเช่น ร่างกายมนุษย์ และน้ำแข็ง ก็มีการแผ่รังสีเช่นกัน เพียงแต่ตาของเรามองไม่เห็น
          พิจารณาภาพที่ 4 เมื่อเราให้พลังงานความความร้อนแก่แท่งโลหะ เมื่อมันเริ่มร้อน มันจะเปล่งแสงสีแดง (สามารถเห็นได้จากขดลวดของเตาไฟฟ้า) เมื่อมันร้อนมากขึ้น มันจะเปล่งแสงสีเหลือง และในที่สุดมันจะเปล่งแสงสีขาวอมน้ำเงิน

          พิจารณาเส้นกราฟ จะเห็นว่า
เมื่อแท่งโลหะมีอุณหภูมิ 3,000 K ความยาวคลื่นสูงสุดที่ยอดกราฟจะอยู่ที่ 1000 nm (นาโนเมตร) ซึ่งตรงกับย่านรังสีอินฟราเรด ซึ่งสายตาเราไม่สามารถมองเห็นรังสีชนิดนี้ เราจึงเห็นแท่งโลหะแผ่แสงสีแดง เนื่องจากเป็นความยาวคลื่นที่ต่ำที่สุดแล้ว ที่เราสามารถมองเห็นได้
เมื่อแท่งโลหะมีอุณหภูมิ 5,000 K ความยาวคลื่นสูงสุดที่ยอดกราฟจะอยู่ที่ 580 nm เราจึงมองเห็นแท่งโลหะเปล่งแสงสีเหลือง
เมื่อแท่งโลหะมีอุณหภูมิ 10,000 K ความยาวคลื่นสูงสุดที่ยอดกราฟจะอยู่ที่ 290 nm ซึ่งตรงกับย่านรังสี อุลตราไวโอเล็ก ซึ่งสายตาเราไม่สามารถมองเห็นรังสีชนิดนี้ เราจึงเห็นแท่งโลหะแผ่แสงสีม่วง เนื่องจากเป็นความยาวคลื่นที่สูงที่สุดแล้ว ที่เราสามารถมองเห็นได้

ภาพที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นกับอุณหภูมิ
          ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า วัตถุร้อน มีพลังงานสูง และแผ่รังสีคลื่นสั้น ส่วนวัตถุเย็น มีพลังงานต่ำ แผ่รังสีคลื่นยาว
กฎของเวน (Wien’s Law): ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่น และอุณหภูมิ

           วัตถุทุกชนิดที่มีอุณภูมิสูงกว่า 0 เคลวิน (-273°C) ย่อมมีพลังงานภายในตัว และมีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความยาวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแปรผกผันกับอุณหภูมิ (วัตถุร้อน มีพลังงานสูง และแผ่รังสีคลื่นสั้น, วัตถุเย็น มีพลังงานต่ำ แผ่รังสีคลื่นยาว)
 ในปี ค.ศ.1893 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ วิลเฮล์ม เวน (Wilhelm Wien) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและความร้อน
max = 0.0029 / T
                 max      = ความยาวคลื่นเข้มสุด มีหน่วยเป็นเมตร (m)
              T           = อุณหภูมิของวัตถุ มีหน่วยเป็นเคลวิน (K)
           ตัวอย่างที่ 1 แสดงให้เห็นว่า เราสามารถคำนวณหาอุณหภูมิพื้นผิวของดาวได้ ถ้าเราทราบความยาวคลื่นเข้มสุด ที่ดาวนั้นแผ่รังสีออกมา
ตัวอย่างที่ 1: ดวงอาทิตย์แผ่รังสีที่มีความยาวคลื่นเข้มสุด 500 นาโนเมตร อยากทราบว่า ดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวเท่าไร
         max   = 0.0029 / T
           T      = 0.0029 / max
                  = 0.0029 / 500 x 10-9 m
                  = 5,800 K
กฎของแพลงก์ (Plank’s Law)

          
โฟตอนเป็นอนุภาคของแสง เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 300,000,000 เมตร/วินาที พลังงานของโฟตอนแปรผันตามความถี่ แต่แปรผกผันกับความยาวคลื่น โฟตอนของคลื่นสั้นมีพลังงานมากกว่าโฟตอนของคลื่นยาว
E = hf
E = hc
          พลังงานของโฟตอน    = h x ความถี่
                                       = h x ความเร็วแสง / ความยาวคลื่น
     ความยาวคลื่น () = ระยะห่างระหว่างยอดคลื่น มีหน่วยเป็นเมตร (m)
     ความถี่ (f) = จำนวนคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดที่กำหนด ในระยะเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็นเฮิรทซ์ (Hz)
     ค่าคงที่ของแพลงก์ (h) = 6.6 x 10-34 จูล วินาที (J.s)
          ตัวอย่างที่ 3 แสดงให้เห็นว่า โฟตอนของแสงสีม่วงซึ่งมีความยาวคลื่น 400 นาโนเมตร มีพลังงานสูงกว่า โฟตอนของแสงสีแดงซึ่งมีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร ถึง 1.75 เท่า
ตัวอย่างที่ 2: โฟตอนของแสงสีม่วงมีความยาวคลื่น 400 นาโนเมตร โฟตอนของแสงสีแดงมีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร โฟตอนทั้งสองมีพลังงานต่างกันอย่างไร
Eviolet = hc / = [6.6 x 10-34 J.s] [3 x 108 m s-1M / 400 x 10-9 nm
       = 4.95 x 10-19 จูล
Ered   = hc /  = [6.6 x 10-34 J.s] [3 x 108 m s-1] / 700 x 10-9 nm
       = 2.83 x 10-19 จูล
โฟตอนของแสงสีม่วง มีพลังงานสูงกว่า โฟตอนของแสงสีแดง 1.75 เท่า
กฎของสเตฟาน–โบลทซ์มานน์ (Stefan-Boltzmann’s Law)
          ความเข้มของพลังงาน (Energy Flux) แปรผันตามค่ายกกำลังสี่ของอุณหภูมิ มีหน่วยเป็น จูล / ตารางเมตร วินาที หรือ วัตต์ / ตารางเมตร
F    =     T4
          F = ความเข้มของพลังงาน มีหน่วยเป็นวัตต์ / ตารางเมตร (W m-2)
           = 5.67 x 10-8 วัตต์ / ตารางเมตร K4 (W m-2 K-4)
          T = อุณหภูมิของวัตถุ มีหน่วยเป็นเคลวิน (K)
          ถ้าเราทราบว่า ความยาวคลื่นเข้มสุดที่ดาวแผ่รังสีออกมา เราก็จะทราบอุณหภูมิพื้นผิวของดาว (ดังตัวอย่างที่ 1) และเมื่อเราทราบอุณหภูมิพื้นผิวของดาว เราก็จะทราบว่า พลังงานที่ดาวแผ่ออกมานั้นมีความเข้มเท่าไร (ดังตัวอย่างที่ 3)
ตัวอย่างที่ 3: พื้นผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิเฉลี่ย 5,800 K มีความเข้มของพลังงานเท่าไร
    F = T4
       = (5.67 x 10-8 วัตต์ / ตารางเมตร K4) (5800 K)4
       = (5.67 x 10-8 วัตต์ / ตารางเมตร) (1.13 x 1015)
       = 64,164,532 วัตต์ / ตารางเมตร
ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและระยะทาง
          ในการแผ่รังสี คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกจากจุดกำเนิดทุกทิศทุกทาง เปรียบเสมือนทรงกลมที่มีจุดกำเนิดเป็นจุดศูนย์กลาง โดยเมื่อพลังงานแพร่ออกไป ความเข้มของพลังงานจะลดลงไปเท่ากับ หน่วยของระยะทางยกกำลังสอง ดังที่แสดงในภาพที่ 2

ภาพที่ 2 กฏของสเตฟาน–โบลทซ์มานน์
กฎระยะทางผกผันกำลังสอง
F1 / F2 = (D2 / D1)2

          F1 = ความเข้มของพลังงาน ณ ระยะทางที่ 1
          F2 = ความเข้มของพลังงาน ณ ระยะทางที่ 2
          D1 = ระยะทางจากจุดกำเนิดถึงระยะทางที่ 1
          D2 = ระยะทางจากจุดกำเนิด ถึงระยะทางที่ 2
          ตัวอย่างที่ 4  แสดงให้เห็นว่า ดวงอาทิตย์มีรัศมี 694 ล้านเมตร พื้นผิวของดวงอาทิตย์แผ่รังสีด้วยความเข้ม 64 ล้านวัตต์ / ตารางเมตร แสงอาทิตย์เดินทางมายังโลกเป็นระยะทาง 149.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งมีระยะห่างมากกว่ารัศมีของดาวอาทิตย์ 216 เท่า ทำให้แสงอาทิตย์มีความเข้มน้อยลง (216)2 เท่า ดังนั้น แสงอาทิตย์ตกกระทบบรรยากาศชั้นบนของโลกด้วยความเข้มเพียง 1,370 วัตต์/ตารางเมตร
ตัวอย่างที่ 4: พลังงานที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์มีความเข้ม 64 ล้านวัตต์ / ตารางเมตร อยากทราบว่า พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบบรรยากาศชั้นบนของโลก จะมีความเข้มเท่าไร
    F1 = ความเข้มของพลังงาน ณ บรรยากาศโลกชั้นบน
    F2 = ความเข้มของพลังงาน ณ ผิวดวงอาทิตย์     = 64,000,000 วัตต์/ตารางเมตร
    D1 = รัศมีของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์         = 149.6 x 109 เมตร
    D2 = รัศมีของดวงอาทิตย์                      = 694,000,000 เมตร
    F1 = F2 (D2/D1)2
    F1 = (64 x 106 วัตต์/ตารางเมตร) (694 x 106 เมตร / 149.6 x 109 เมตร)2
       = 1,370 วัตต์/ตารางเมตร
สรุปกฎการแผ่รังสี
    1.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่ในอวกาศด้วยความเร็ว 300,000 กิโลเมตร/วินาที
2.คลื่นสั้นมีความถี่สูง คลื่นยาวมีความถี่ต่ำ
3.วัตถุทุกชนิดที่มีอุณภูมิสูงกว่า 0 K (-273°C) ล้วนมีพลังงานภายในตัว และมีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
4.วัตถุที่มีอุณหภูมิสูง ย่อมมีการแผ่พลังงาน (อัตราการไหลของพลังงาน) มากกว่าวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำ
5.พลังงานของโฟตอนแปรผันโดยตรงกับความถี่ (E = h)
6.พลังงานของโฟตอนแปรผกผันกับความยาวคลื่น (E = hc /)
7.วัตถุที่มีอุณหภูมิสูงแผ่รังสีคลื่นสั้น วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำแผ่รังสีคลื่นยาว
(max    = 0.0029 / T)
8.ความเข้มของพลังงานแปรผกผันกับหน่วยของระยะทางยกกำลังสอง (F1/F2 = (D2/D1)2)
การคำนวณหาพลังงานจากดวงอาทิตย์
   1.Spectrum จากดวงอาทิตย์ มีความยาวคลื่นที่มีพลังงานสูงสุดmax   = 500 นาโนเมตร กฎของเวน T = 0.0029 / max ทำให้ทราบค่าอุณหภูมิพื้นผิว = 5,800 K ........(ตัวอย่างที่ 1)
2.กฎสเตฟาน-โบลทซ์มานน์ F =    T4  
ทำให้ทราบค่าความเข้มของพลังงานที่พื้นผิว = 64 ล้านวัตต์/ตารางเมตร ........(ตัวอย่างที่ 3)
3.กฎระยะทางผกผันกำลังสอง F1 / F2 = (D2 / D1)2 ทำให้ทราบค่าความเข้มของพลังงานที่ตกกระทบบรรยากาศของโลก = 1,370 ล้านวัตต์ / ตารางเมตร ........(ตัวอย่างที่ 4)
แหล่งที่มา : http://www.vcharkarn.com/lesson/1037
http://www.pw.ac.th/emedia/media/science/lesa/3/nature_ligth/em_property/em_property.html

No comments:

Post a Comment