Wednesday, October 24, 2018

บทความเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(รูปนี้ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา)

 
ภาพ  3.25 8  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
             การศึกษาที่ผ่านมา  คลื่นผิวน้ำและคลื่นเสียงเป็นคลื่นกลที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลาง  ยังมีคลื่นอีกชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง  คือ  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (electromagnetic  wave)

             คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทิศของสนามทั้งสองตั้งฉากกันและตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่  ดังภาพ  3.25

             -  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นชนิดใด

             จากการศึกษายังพบว่า  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงความถี่ต่างๆ  มีลักษณะเฉพาะตัว  จึงมีชื่อเรียกต่างกัน  เมื่อเรียงลำดับจากความถี่ต่ำไปความถี่สูงจะได้ดังนี้  คลื่นวิทยุ  ไมโครเวฟ  รังสีอินฟราเรด  แสงที่ตามองเห็ฯ  รังสีอัลตราไวโอเลต  รังสีเอกซ์  และรังสีแกมมา  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกช่วงที่มีความถี่ที่ต่อเนื่องกัน  รวมเรียกว่า  สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic  spectrum)
หน่วยของความถี่
        ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์  (Hz)  นอกจากนี้ยังมีหน่วย กิโลเฮิรตซ์  (kHz)  เมกะเฮิรตซ์  (MHz)  และจิกะเฮิรตซ์  (GHz)  โดยมีวคามสัมพันธ์กันดังนี้
               1 kHz    =  1000  Hz      =   103  Hz
               1 MHz   =  1000  kHz   =  106  Hz
               1 GHz   =  1000  MHz  =   109 Hz

ภาพ 3.26  สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการใช้ประโยชน์
             ในธรรมชาติมีแหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากมาย  เช่น  ดวงอาทิตย์  ดาวฤกษ์อื่นๆ  และแร่ธาตุบางชนิด  มนุษย์ยังใช้ความรู้ความสามารถประดิษฐ์เครื่องกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้อีกมาก  ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง  อย่างไรก็ตาม  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีทั้งประโยชน์และโทษ  จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง

             คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ประโยชน์มากในชีวิจประจำวันคือ  คลื่นวิทยุ   (radio  wave)  ซึ่งมีความถี่ในช่วง   104  ถึง   109  เฮิรตซ์   เป็นคลื่นที่ใช้ในการส่งข่าวสารและสาระบันเทิง  ทำการส่งได้โดยเปลี่ยนเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า  แล้วผสมกับคลื่นวิทยุซึ่งทำหน้าที่เป็นคลื่นพาหะคลื่นที่ผสมแล้วจะถูกขยายให้มีกำลังสูงขึ้น  แล้วส่งไปยังสายอากาศเพื่อกระจายคลื่นไปยังเครื่องรับวิทยุ

ภาพ  3.27  การส่งและรับคลื่นวิทยุ
             การผสมสัญญาณเสียงกับคลื่นวิทยุมี  2  ระบบคือ  เอเอ็ม  (AM :  Amplitude  Modulation)  และเอฟเอ็ม  (FM:  Frequency  Modulation)  การผสมคลื่นระบบ  AM  แอมพลิจูดของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนตามคลื่นเสียง  ส่วนความถี่ของคลื่นพาหะไม่เปลี่ยน  โดยส่งกระจายเสียงด้วยความถี่  530-1,600  กิโลเฮิรตซ์  ส่วนการผสมคลื่นระบบ  FM  แอมพลิจูดของคลื่นพาหะไม่เปลี่ยนแปลง  แต่ความถี่ของคลื่นพาหะเปลี่ยนแปลงตามคลื่นเสียง  ส่งกระจายเสียงด้วยความถี่  88 - 108  เมกะเฮิรตซ์  ดังภาพ  3.28

ภาพ 3.28  การผสมสัญญาณ
             นอกจากนี้ยังอาจส่งกระจายเสียงโดยใช้คลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงกว่าเล็กน้อย  คือ  ประมาณ  2 -30 เมกะเฮิรตซ์  เรียกว่า  คลื่นสั้น  หรือ ชอร์ทเวฟ  มักใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ

             -  สถานีวิทยุกรีนเวฟส่งกระจายคลื่นด้วยความถี่  106.5  เมกะเฮิรตซ์  จะมีความยาวคลื่นเท่าใด

ภาพ  3.29  การสะท้อนของคลื่นวิทยุที่บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์
ตาราง  3.2  การใช้งานคลื่นวิทยุและไมโครเวฟ
ช่วงความถี่การใช้งาน
30 Hz - 300 kHz
300 kHz - 3 MHz
3 - 30  MHz
30 - 300  MHz
300 MHz - 3GHz
มากกว่า 3 GHZ
สื่อสารทางทะเล
ส่งคลื่นวิทยุระบบเอเอ็ม
ส่งคลื่นสั้นระหว่างประเทศ
ส่งคลื่นวิทยุระบบเอฟเอ็ม
ส่งคลื่นโทรทัศน์และโทรทัศน์เคลื่อนที่
สื่อสารผ่านดาวเทียม
กิจกรรม  3.3  สืบค้นข้อมูลเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
             สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดและการกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  รวมไปถึงการใช้ประโยชน์  และผลของการใช้  ทั้งคุณและโทษ  แล้วนำเสนอข้อมูลต่อชั้นเรียน

             คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่ำถึงปานกลางสามารถสะท้อนที่บรรยากาศชัน  ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere)  ซึ่งอยู่สูงจากผิวโลกประมาณ  100  กิโลเมตร  ทำให้สามารถใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อสื่อสารกับสถานที่ที่อยู่ไกลได้  แต่สำหรับคลื่นวิทยุในระบบเอฟเอ็มซึ่งมีความถี่สูงกว่า  คลื่นจะทะลุผ่านชั้นไอโอโนสเฟียร์ไปได้  จึงใช้ในการติดต่อกับยายอวกาศที่เดินทางไปไกลจากโลกมากๆ  ดังนั้นการรับคลื่นวิทยุในระบบเอฟเอ็มบนพื้นโลก  จึงได้รับเฉพาะคลื่นที่แผ่กระจายจากสายอากาศของเครื่องส่ง  ตรงมายังเครื่องรับวิทยุของเราจึงรับสัญญาณได้ไม่ไกลมาก

             คลื่นเป็นพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติและที่มนุษย์ผลิตขึ้นได้มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน  และการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติและการใช้ประโยชน์ของคลื่นจะช่วยให้มนุษย์และสิ่งแวดล้อมดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนและสมดุลทำให้นำมาใช้งานได้อย่างปลอดภัยต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม

   ธรรมชาติของ “แสง” แสดงความประพฤติเป็นทั้ง “คลื่น” และ “อนุภาค” เมื่อเรากล่าวถึงแสงในคุณสมบัติความเป็นคลื่น เราเรียกว่า “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” (Electromagnetic waves) ซึ่งประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าทำมุมตั้งฉาก ดังที่แสดงในภาพที่ 1 แสงเคลื่อนที่ไปในอวกาศด้วยความเร็ว 300,000,000 เมตร/วินาที เมื่อเรากล่าวถึงแสงในคุณสมบัติของอนุภาค เราเรียกว่า “โฟตอน” (Photon) เป็นอนุภาคที่ไม่มีมวล 

ภาพที่ 1 คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
          แสงที่ตามองเห็น (Visible light) เป็นส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงคลื่น 400 – 700 นาโนเมตร (1 เมตร = 109 นาโนเมตร หรือ 100 ล้านนาโนเมตร) หากนำแท่งแก้วปริซึมมาหักเหแสงอาทิตย์ เราจะเห็นว่าแสงสีขาวถูกหักเหออกเป็นสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง คล้ายกับสีของรุ้งกินน้ำ เรียกว่า “สเปกตรัม” (Spectrum) แสงแต่ละสีมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน สีม่วงมีความยาวคลื่นน้อยที่สุด สีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด นอกจากแสงที่ตามองเห็นแล้วยังมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ดังที่แสดงในภาพที่ 2 ได้แก่
           • รังสีแกมมา (Gamma ray) ความยาวคลื่นน้อยกว่า 0.01 nm
           • รังสีเอ็กซ์ (X-ray) มีความยาวคลื่น 0.01 - 1 nm
           • รังสีอุลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet radiation) มีความยาวคลื่น 1 - 400 nm
           • แสงที่ตามองเห็น (Visible light) มีความยาวคลื่น 400 – 700 nm
           • รังสีอินฟราเรด (Infrared radiation) มีความยาวคลื่น 700 nm – 1 mm
           • คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) มีความยาวคลื่น 1 mm – 10 cm
           • คลื่นวิทยุ (Radio wave) ความยาวคลื่นมากกว่า 10 cm
                                                 คลิก เพื่อดูภาพเคลื่อนไหว
หมายเหตุ
          • ตำราดาราศาสตร์ส่วนใหญ่กำหนดให้ คลื่นไมโครเวฟเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นวิทยุ
          • บางแห่งใช้หน่วยความยาวคลื่นเป็น อังสตรอม ()     โดยที่ 1 เมตร = 1010
     หรือ 10,000,000,000  หรือ 1 nm = 10  

ภาพที่ 2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทต่างๆ
สเปกตรัม
          นักดาราศาสตร์ทำการศึกษาวัตถุท้องฟ้า โดยการศึกษาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่วัตถุแผ่รังสีออกมา สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้เราทราบถึงคุณสมบัติทางกายภาพของดวงดาว อันได้แก่ อุณหภูมิ และพลังงาน นอกจากนั้นยังบอกถึง ธาตุ องค์ประกอบทางเคมี และทิศทางการเคลื่อนที่ของเทห์วัตถุด้วย

ภาพที่ 3 สเปกตรัมของแสงอาทิตย์
          สเปกตรัมของแสงอาทิตย์ในภาพที่ 3 แสดงให้เห็นถึงระดับความเข้มของพลังงานในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ จะเห็นได้ว่า ดวงอาทิตย์มีความเข้มของพลังงานมากที่สุดที่ความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร เส้นสีเข้มบนแถบสเปกตรัม หรือ รอยหยักบนเส้นกราฟแสดงให้เห็นว่า มีธาตุไฮโดรเจนอยู่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ดาวแต่ละดวงมีสเปกตรัมไม่เหมือนกัน ฉะนั้นสเปกตรัมจึงมีคุณสมบัติเปรียบได้กับเส้นลายมือของดาว
ความสัมพันธ์ระหว่าง ความยาวคลื่น (Wavelength) และ ความถี่ (Frequency)
          วัตถุทุกชนิดที่มีอุณภูมิสูงกว่า 0 เคลวิน (-273°C) มีพลังงานภายในตัว และมีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความยาวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแปรผกผันกับอุณหภูมิ มิใช่มีเพียงสิ่งที่มีอุณหภูมิสูง ดังเช่น ดวงอาทิตย์ และไส้หลอดไฟฟ้า จึงมีการแผ่รังสี หากแต่สิ่งที่มีอุณหภูมิต่ำดังเช่น ร่างกายมนุษย์ และน้ำแข็ง ก็มีการแผ่รังสีเช่นกัน เพียงแต่ตาของเรามองไม่เห็น
          พิจารณาภาพที่ 4 เมื่อเราให้พลังงานความความร้อนแก่แท่งโลหะ เมื่อมันเริ่มร้อน มันจะเปล่งแสงสีแดง (สามารถเห็นได้จากขดลวดของเตาไฟฟ้า) เมื่อมันร้อนมากขึ้น มันจะเปล่งแสงสีเหลือง และในที่สุดมันจะเปล่งแสงสีขาวอมน้ำเงิน

          พิจารณาเส้นกราฟ จะเห็นว่า
เมื่อแท่งโลหะมีอุณหภูมิ 3,000 K ความยาวคลื่นสูงสุดที่ยอดกราฟจะอยู่ที่ 1000 nm (นาโนเมตร) ซึ่งตรงกับย่านรังสีอินฟราเรด ซึ่งสายตาเราไม่สามารถมองเห็นรังสีชนิดนี้ เราจึงเห็นแท่งโลหะแผ่แสงสีแดง เนื่องจากเป็นความยาวคลื่นที่ต่ำที่สุดแล้ว ที่เราสามารถมองเห็นได้
เมื่อแท่งโลหะมีอุณหภูมิ 5,000 K ความยาวคลื่นสูงสุดที่ยอดกราฟจะอยู่ที่ 580 nm เราจึงมองเห็นแท่งโลหะเปล่งแสงสีเหลือง
เมื่อแท่งโลหะมีอุณหภูมิ 10,000 K ความยาวคลื่นสูงสุดที่ยอดกราฟจะอยู่ที่ 290 nm ซึ่งตรงกับย่านรังสี อุลตราไวโอเล็ก ซึ่งสายตาเราไม่สามารถมองเห็นรังสีชนิดนี้ เราจึงเห็นแท่งโลหะแผ่แสงสีม่วง เนื่องจากเป็นความยาวคลื่นที่สูงที่สุดแล้ว ที่เราสามารถมองเห็นได้

ภาพที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นกับอุณหภูมิ
          ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า วัตถุร้อน มีพลังงานสูง และแผ่รังสีคลื่นสั้น ส่วนวัตถุเย็น มีพลังงานต่ำ แผ่รังสีคลื่นยาว
กฎของเวน (Wien’s Law): ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่น และอุณหภูมิ

           วัตถุทุกชนิดที่มีอุณภูมิสูงกว่า 0 เคลวิน (-273°C) ย่อมมีพลังงานภายในตัว และมีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความยาวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแปรผกผันกับอุณหภูมิ (วัตถุร้อน มีพลังงานสูง และแผ่รังสีคลื่นสั้น, วัตถุเย็น มีพลังงานต่ำ แผ่รังสีคลื่นยาว)
 ในปี ค.ศ.1893 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ วิลเฮล์ม เวน (Wilhelm Wien) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและความร้อน
max = 0.0029 / T
                 max      = ความยาวคลื่นเข้มสุด มีหน่วยเป็นเมตร (m)
              T           = อุณหภูมิของวัตถุ มีหน่วยเป็นเคลวิน (K)
           ตัวอย่างที่ 1 แสดงให้เห็นว่า เราสามารถคำนวณหาอุณหภูมิพื้นผิวของดาวได้ ถ้าเราทราบความยาวคลื่นเข้มสุด ที่ดาวนั้นแผ่รังสีออกมา
ตัวอย่างที่ 1: ดวงอาทิตย์แผ่รังสีที่มีความยาวคลื่นเข้มสุด 500 นาโนเมตร อยากทราบว่า ดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวเท่าไร
         max   = 0.0029 / T
           T      = 0.0029 / max
                  = 0.0029 / 500 x 10-9 m
                  = 5,800 K
กฎของแพลงก์ (Plank’s Law)

          
โฟตอนเป็นอนุภาคของแสง เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 300,000,000 เมตร/วินาที พลังงานของโฟตอนแปรผันตามความถี่ แต่แปรผกผันกับความยาวคลื่น โฟตอนของคลื่นสั้นมีพลังงานมากกว่าโฟตอนของคลื่นยาว
E = hf
E = hc
          พลังงานของโฟตอน    = h x ความถี่
                                       = h x ความเร็วแสง / ความยาวคลื่น
     ความยาวคลื่น () = ระยะห่างระหว่างยอดคลื่น มีหน่วยเป็นเมตร (m)
     ความถี่ (f) = จำนวนคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดที่กำหนด ในระยะเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็นเฮิรทซ์ (Hz)
     ค่าคงที่ของแพลงก์ (h) = 6.6 x 10-34 จูล วินาที (J.s)
          ตัวอย่างที่ 3 แสดงให้เห็นว่า โฟตอนของแสงสีม่วงซึ่งมีความยาวคลื่น 400 นาโนเมตร มีพลังงานสูงกว่า โฟตอนของแสงสีแดงซึ่งมีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร ถึง 1.75 เท่า
ตัวอย่างที่ 2: โฟตอนของแสงสีม่วงมีความยาวคลื่น 400 นาโนเมตร โฟตอนของแสงสีแดงมีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร โฟตอนทั้งสองมีพลังงานต่างกันอย่างไร
Eviolet = hc / = [6.6 x 10-34 J.s] [3 x 108 m s-1M / 400 x 10-9 nm
       = 4.95 x 10-19 จูล
Ered   = hc /  = [6.6 x 10-34 J.s] [3 x 108 m s-1] / 700 x 10-9 nm
       = 2.83 x 10-19 จูล
โฟตอนของแสงสีม่วง มีพลังงานสูงกว่า โฟตอนของแสงสีแดง 1.75 เท่า
กฎของสเตฟาน–โบลทซ์มานน์ (Stefan-Boltzmann’s Law)
          ความเข้มของพลังงาน (Energy Flux) แปรผันตามค่ายกกำลังสี่ของอุณหภูมิ มีหน่วยเป็น จูล / ตารางเมตร วินาที หรือ วัตต์ / ตารางเมตร
F    =     T4
          F = ความเข้มของพลังงาน มีหน่วยเป็นวัตต์ / ตารางเมตร (W m-2)
           = 5.67 x 10-8 วัตต์ / ตารางเมตร K4 (W m-2 K-4)
          T = อุณหภูมิของวัตถุ มีหน่วยเป็นเคลวิน (K)
          ถ้าเราทราบว่า ความยาวคลื่นเข้มสุดที่ดาวแผ่รังสีออกมา เราก็จะทราบอุณหภูมิพื้นผิวของดาว (ดังตัวอย่างที่ 1) และเมื่อเราทราบอุณหภูมิพื้นผิวของดาว เราก็จะทราบว่า พลังงานที่ดาวแผ่ออกมานั้นมีความเข้มเท่าไร (ดังตัวอย่างที่ 3)
ตัวอย่างที่ 3: พื้นผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิเฉลี่ย 5,800 K มีความเข้มของพลังงานเท่าไร
    F = T4
       = (5.67 x 10-8 วัตต์ / ตารางเมตร K4) (5800 K)4
       = (5.67 x 10-8 วัตต์ / ตารางเมตร) (1.13 x 1015)
       = 64,164,532 วัตต์ / ตารางเมตร
ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและระยะทาง
          ในการแผ่รังสี คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกจากจุดกำเนิดทุกทิศทุกทาง เปรียบเสมือนทรงกลมที่มีจุดกำเนิดเป็นจุดศูนย์กลาง โดยเมื่อพลังงานแพร่ออกไป ความเข้มของพลังงานจะลดลงไปเท่ากับ หน่วยของระยะทางยกกำลังสอง ดังที่แสดงในภาพที่ 2

ภาพที่ 2 กฏของสเตฟาน–โบลทซ์มานน์
กฎระยะทางผกผันกำลังสอง
F1 / F2 = (D2 / D1)2

          F1 = ความเข้มของพลังงาน ณ ระยะทางที่ 1
          F2 = ความเข้มของพลังงาน ณ ระยะทางที่ 2
          D1 = ระยะทางจากจุดกำเนิดถึงระยะทางที่ 1
          D2 = ระยะทางจากจุดกำเนิด ถึงระยะทางที่ 2
          ตัวอย่างที่ 4  แสดงให้เห็นว่า ดวงอาทิตย์มีรัศมี 694 ล้านเมตร พื้นผิวของดวงอาทิตย์แผ่รังสีด้วยความเข้ม 64 ล้านวัตต์ / ตารางเมตร แสงอาทิตย์เดินทางมายังโลกเป็นระยะทาง 149.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งมีระยะห่างมากกว่ารัศมีของดาวอาทิตย์ 216 เท่า ทำให้แสงอาทิตย์มีความเข้มน้อยลง (216)2 เท่า ดังนั้น แสงอาทิตย์ตกกระทบบรรยากาศชั้นบนของโลกด้วยความเข้มเพียง 1,370 วัตต์/ตารางเมตร
ตัวอย่างที่ 4: พลังงานที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์มีความเข้ม 64 ล้านวัตต์ / ตารางเมตร อยากทราบว่า พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบบรรยากาศชั้นบนของโลก จะมีความเข้มเท่าไร
    F1 = ความเข้มของพลังงาน ณ บรรยากาศโลกชั้นบน
    F2 = ความเข้มของพลังงาน ณ ผิวดวงอาทิตย์     = 64,000,000 วัตต์/ตารางเมตร
    D1 = รัศมีของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์         = 149.6 x 109 เมตร
    D2 = รัศมีของดวงอาทิตย์                      = 694,000,000 เมตร
    F1 = F2 (D2/D1)2
    F1 = (64 x 106 วัตต์/ตารางเมตร) (694 x 106 เมตร / 149.6 x 109 เมตร)2
       = 1,370 วัตต์/ตารางเมตร
สรุปกฎการแผ่รังสี
    1.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่ในอวกาศด้วยความเร็ว 300,000 กิโลเมตร/วินาที
2.คลื่นสั้นมีความถี่สูง คลื่นยาวมีความถี่ต่ำ
3.วัตถุทุกชนิดที่มีอุณภูมิสูงกว่า 0 K (-273°C) ล้วนมีพลังงานภายในตัว และมีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
4.วัตถุที่มีอุณหภูมิสูง ย่อมมีการแผ่พลังงาน (อัตราการไหลของพลังงาน) มากกว่าวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำ
5.พลังงานของโฟตอนแปรผันโดยตรงกับความถี่ (E = h)
6.พลังงานของโฟตอนแปรผกผันกับความยาวคลื่น (E = hc /)
7.วัตถุที่มีอุณหภูมิสูงแผ่รังสีคลื่นสั้น วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำแผ่รังสีคลื่นยาว
(max    = 0.0029 / T)
8.ความเข้มของพลังงานแปรผกผันกับหน่วยของระยะทางยกกำลังสอง (F1/F2 = (D2/D1)2)
การคำนวณหาพลังงานจากดวงอาทิตย์
   1.Spectrum จากดวงอาทิตย์ มีความยาวคลื่นที่มีพลังงานสูงสุดmax   = 500 นาโนเมตร กฎของเวน T = 0.0029 / max ทำให้ทราบค่าอุณหภูมิพื้นผิว = 5,800 K ........(ตัวอย่างที่ 1)
2.กฎสเตฟาน-โบลทซ์มานน์ F =    T4  
ทำให้ทราบค่าความเข้มของพลังงานที่พื้นผิว = 64 ล้านวัตต์/ตารางเมตร ........(ตัวอย่างที่ 3)
3.กฎระยะทางผกผันกำลังสอง F1 / F2 = (D2 / D1)2 ทำให้ทราบค่าความเข้มของพลังงานที่ตกกระทบบรรยากาศของโลก = 1,370 ล้านวัตต์ / ตารางเมตร ........(ตัวอย่างที่ 4)
แหล่งที่มา : http://www.vcharkarn.com/lesson/1037
http://www.pw.ac.th/emedia/media/science/lesa/3/nature_ligth/em_property/em_property.html

Monday, July 2, 2018

โปรแกรม Lock Folder

Noona Folder Locker

Noona Folder Locker (โปรแกรม Noona ล็อคโฟลเดอร์ ฟรี) : สำหรับโปรแกรมนี้มีชื่อว่า โปรแกรมหนูนาล็อคโฟลเดอร์ หรือ โปรแกรม Noona Folder Locker มันเป็นโปรแกรมที่เอาไว้ใช้ในการล็อคการเข้าถึงข้อมูล เข้าถึงไฟล์ ต่างๆ ในโฟลเดอร์ ที่คุณต้องการจะล็อคหรือป้องกันมันนั่นเอง ประโยชน์ของมันคือใช้ในกรณีที่คุณมีไฟล์เอกสารสำคัญ ไฟล์รูปภาพสำคัญ ไฟล์เอกสารลับอื่นๆ ต่างๆ หรือแม้แต่ไฟล์หนังโป๊ รูปโป๊ 18+ ทั้งหลาย และไม่ต้องการให้คนอื่นเข้าถึงได้ และปัญหาคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นมีคนเล่น หรือ ใช้งานกันหลายคน ก็สามารถใช้โปรแกรมนี้เข้ามาช่วยได้ การใช้งานก็ง่ายๆ คุณสามารถใช้ล็อคโฟลเดอร์ด้วยรหัสผ่าน (Password) ที่คุณตั้งค่าเอาไว้ ก็ไม่ใช่ว่าใครที่มีโปรแกรมนี้เหมือนกันแล้วจะเปิดโฟลเดอร์ที่คุณล็อคไว้ได้ แต่ยังต้องรู้รหัสผ่านที่ถูกตั้งเอาไว้ด้วยเช่นกัน จึงทำให้ยกระดับ และ เสริมความปลอดภัยได้ดีขึ้นอีกระดับนึง

ขั้นตอน

1.ให้ใส่รหัสผ่านในการล็อคโฟลเดอร์

2.แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่เราต้องการจะล็อค จากนั้นกด OK

ผลลัพธ์
ก่อน

หลัง



Sunday, June 17, 2018

ประเภทของภัยคุกคามทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

Virus คอมพิวเตอร์

ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว





มัลแวร์ (อังกฤษMalware) ย่อมาจากคำว่า Malicious Software ซึ่งหมายถึงโปรแกรมประสงค์ร้ายต่างๆ โดยทำงานในลักษณะที่เป็นการโจมตีระบบ การทำให้ระบบเสียหาย รวมไปถึงการโจรกรรมข้อมูล มัลแวร์ แบ่งออกได้หลากหลายประเภท อาทิเช่น ไวรัส (Virus) เวิร์ม (Worm) หรือหนอนอินเทอร์เน็ต ม้าโทรจัน (Trojan Horse) การแอบดักจับข้อมูล (Spyware) คีย์ ล๊อกเกอร์ (Key Logger) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน ตลอดจนโปรแกรมประเภทขโมยข้อมูล (Cookie) และการฝัง Malicious Mobile Code (MMC) ผ่านทางช่องโหว่ของโปรแกรม Internet Browser โดยโปรแกรมจะทำการควบคุมการทำงานโปรแกรม Internet Browser ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ที่ไม่หวังดี เช่น การแสดงโฆษณาในลักษณะของการ Pop-Up หน้าต่างโฆษณาออกมาเป็นระยะ เราเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า แอ็ดแวร์ (Adware) ซึ่งภัยเหล่านี้ในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบแก่ผู้ใช้งานได้ ถ้ารับโปรแกรมเหล่านี้เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ malware

ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนของข้อมูลเอกสารหรือส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้ ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ virus computer

หนอนคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เวิร์ม(computer worm) หรือบางทีเรียกกันว่าเวิร์ม คือหน่วยย่อยลงมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ปกติแล้ว หนอนคอมพิวเตอร์จะแพร่กระจายโดยไม่ผ่านการใช้งานของผู้ใช้ โดยมันจะคัดลอกและกระจายตัวมันเองข้ามเครือข่าย เช่น ระบบเครือข่าย หรือ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น หนอนคอมพิวเตอร์สามารถทำลายข้อมูลและแบนด์วิทสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์รวมไปถึงการทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงาน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ virus computer
ม้าโทรจัน (อังกฤษTrojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ malware

วิธีแชร์ไฟล์

1.เปิด File Explorer ขึ้นแล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการจะแชร์ จากนั้นกด Properties

2.จากนั้นกดที่ Sharing แล้วเลือกที่ Advanced Sharing

3.กดติ๊กถูกที่ช่อง Share this folder แล้วกดที่ Permission

4.ก็จะขึ้นหน้าต่างเพื่อกำหนดสิทธิ์ว่าสามารถแก้ไขหรืออ่านได้อย่างเดียว ให้เลือกตามที่ต้องการ จากนั้นกด OK

5.จากนั้นกด OK

6.จากนั้นกลับไปที่หน้า Sharing แล้วกดที่ Share

7.กดปุ่มสามเหลี่ยม แล้วเลือก Everyone

8.จากนั้นกด Share


Monday, June 4, 2018

วิธีสมัคร Account และ Login Users

1.ให้เข้า Windows Setting แล้วเลือก Account

2.พอเข้า Account แล้วให้เลือกที่ Family & other people


3.พอเลือกแล้วให้กด Add someone else to this PC


4.จากนั้นให้ใส่ชื่อ และ รหัสลงไป (บางทีอาจจะให้ใส่คำถามและคำตอบ)

5.พอกรอกอะไรครบแล้วให้กดปุ่ม Start และกด Sigh out


6.จากนั้นกรอกรหัสแล้วรอโหลดจนกว่าจะเสร็จจนกว่าจะขึ้นหน้านี้